การพัฒนาและเตรียมการ ของ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

เนื่องจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬาและได้รับเชิญให้เป็นกรรมการกีฬาระดับชาติและนานาชาติหลายครั้ง และมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพในด้านต่าง ๆ ทั้งสนามการแข่งขัน ด้านการแพทย์ การคมนาคม การบริการ อาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกรอบมหาวิทยาลัย สถานที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่และนักกีฬา[4] ดังนั้น คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โดยมี รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประธานคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยเป็นประธานในที่ประชุม มีมติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 โดยไม่มีมหาวิทยาลัยอื่นเสนอตัวเป็นเจ้าภาพแข่งขัน[5] การรับเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเคยรับเป็นเจ้าภาพมาก่อนแล้วในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2518), ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2527) และครั้งที่ 21 (พ.ศ. 2537)

การประชาสัมพันธ์

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ

การประชาสัมพันธ์งานแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 นั้น คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์สื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CICC) และสำนักงานสารนิเทศ ทั้ง 3 หน่วยงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายให้เป็นคณะกรรมการดำเงินงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ร่วมกัน

สำหรับการประชาสัมพันธ์จามจุรีเกมส์เพื่อให้เป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไป เริ่มตั้งแต่การแถลงข่าวเปิดตัวกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 โดยได้เชิญสื่อจากทุกสำนักมาในงานเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานไปทั่วประเทศ[6] การประชาสัมพันธ์การแข่งขันในครั้งนี้ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหลากหลายรูปแบบทั้งทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เอกสารแผ่นพับ เป็นต้น โดยทางทีมประชาสัมพันธ์ได้เดินทางเข้าพบสื่อมวลชนสำนักต่าง ๆ เพื่อขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์การแข่งขัน[7][8] และมีการเปิด "ศูนย์ประสานงานสื่อมวลชน" เพื่อการรับรองสื่อมวลชนที่มารายงานข่าวการแข่งขัน[9] รวมทั้ง การส่งโปสเตอร์ไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การแข่งขันในครั้งนี้

สำหรับการประชาสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัยนั้น ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ชวนนิสิตให้มีส่วนร่วมผ่านการประกวดการออกแบบตราสัญลักษณ์ ตัวนำโชค เพลงประจำการแข่งขัน รวมถึงแผ่นปิดประชาสัมพันธ์ (โปสเตอร์) รวมทั้ง การใช้ป้ายประชาสัมพันธ์และป้ายเคาต์ดาวน์เพื่อให้นิสิตตื่นตัวในการเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้

นอกจากนี้ ยังประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ประจำการแข่งขัน, เฟซบุ๊ก และการประชาสัมพันธ์ระหว่างหมู่นิสิตนักศึกษาผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ อาทิ การประกวดผลงานวิชาการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านการตีพิมพ์เอกสารวิชาการหรือสิ่งประดิษฐ์[10] และจัดกิจกรรม "ตลาดนัดสร้างเสริมสุขภาพ" เป็นงานออกบูธของนิสิตนักศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นต้น[11]

ผู้ให้การสนับสนุน

ในการแข่งขันในครั้งนี้ทางเจ้าภาพตั้งงบประมาณไว้ราว 60 ล้านบาท โดยมีผู้ให้การสนับสนุนการแข่งขันในครั้งนี้เป็นอย่างดีจากภาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และภาคเอกชน ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท โรงงานฟุตบอลล์ไทยสปอร์ตติ้งกู๊ดส์ จำกัด เป็นต้น โดยได้รับการสนับสนุนเป็นเงินสดกว่า 35 ล้านบาท[12][13][14]

การคมนาคม

สถานีจอดรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่บริเวณใจกลางกรุงเทพมหานคร มีการคมนาคมขนส่งมวลชนที่สะดวกทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม และรถไฟฟ้ามหานคร สถานีสามย่าน นอกจากนี้ยังมีระบบขนส่งมวลชนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (รถประจำทาง) ดังต่อไปนี้[15]

  • ถนนพระราม 1 สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 11 25 54 73 73ก 79 และ 204
  • ถนนพระราม 4 สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 21 34 47 50 67 93 และ 141
  • ถนนพญาไท สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 27 29 36 36 ก 65 และ 501
  • ถนนอังรีดูนังต์ สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 16 21 และ 141

การคมนาคมภายในมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดระบบการเดินรถภายในมหาวิทยาลัยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักกีฬาและผู้เข้าร่วมแข่งขันที่จะรับส่งเข้าสู่พื้นที่แข่งขันกีฬากับสถานีรถและป้ายรถประจำทางต่างๆ นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้ปรับปรุงอาคารสถานที่จอดรถอีกหลายแห่งในมหาวิทยาลัยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางมาด้วยรถส่วนบุคคล

ที่พัก

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดห้องพักบริการนักกีฬาโดยใช้หอพักนิสิตที่มีความจุกว่า 3,500 คน และมีที่พักเอกชน โรงแรมโดยรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการกว่า 40 แห่ง[16] และมีการปรับปรุงอาคารโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นที่พักซึ่งรวมแล้วมีความจุกว่า 5,000 คน[17] นอกจากนี้ยังมีระบบการจองห้องพักออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักกีฬาและบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกด้วย[18]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 http://www.bangkokbiznews.com/2011/01/23/news_3231... http://hilight.kapook.com/view/36915 http://www.siamdara.com/hotnews/101110_19610.html http://score.chamchurigames38.chula.ac.th/Sum-Univ... http://www.chamchurigames38.chula.ac.th/ http://www.chamchurigames38.chula.ac.th/Press/news... http://www.chamchurigames38.chula.ac.th/Press/news... http://www.chamchurigames38.chula.ac.th/Press/pres... http://www.chamchurigames38.chula.ac.th/about/abou... http://www.chamchurigames38.chula.ac.th/about/abou...